Sensor size – ควรจะเลือกขนาดของเซนเซอร์ที่ใหญ่ เพราะสามารถถ่ายในสภาพแสงน้อยได้ดีกว่าเกิด noise น้อยกว่า ทำให้ได้ภาพที่คมชัดกว่า ขนาดของเซนเซอร์ จะเขียนเป็นเศษส่วน เช่น 1/3 , 1/4 ควรจะเลือกตัวส่วนให้มีค่าน้อยๆ เพราะจะได้ค่ามากกว่า ส่วนค่าความละเอียดที่บอกมา
ขนาดของเซนเซอร์เป็น megapixel ซึ่งมันมีค่าสูงกว่าความละเอียดของวีดิโอ ไม่ต้องสนใจ เพราะเมื่อทำการตัดต่อและแปลงไฟล์วีดิโอมันจะมีความละเอียดตามมาตรฐานของวีดิโออยู่
Sensor Type เซนเซอร์ทั้งแบบ CCD และ CMOS ตอนนี้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน เราควรเลือกที่เป็น 3CCD หรือ 3CMOS มากกว่า 1CCD หรือ 1CMOS เพราะว่ามีเซนเซอร์ถึง 3 ตัวแยกเป็นสีแดง เขียว น้ำเงิน ช่วยในการรับแสง
Manual Controls ต้องเลือกกล้องวีดิโอที่สามารถเลือกปรับรูรับแสง(exposure), White Balance, Shutter speed และFocus ได้ด้วยตัวเอง
วิวไฟน์เดอร์ ช่องมองภาพ
Viewfinder ควรจะมีด้วยครับ เผื่อไว้ใช้ในกรณีการถ่ายวีดิโอกลางแจ้ง ทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ชัดเจนจากจอ LCD และเผื่อไว้ในกรณีจอ LCD มีปัญหา ทำให้สามารถใช้ viewfinder แทนได้
วงแหวนหมุนโฟกัส
Focus ring วงแหวนปรับโฟกัส เอาไว้ใช้สำหรับกรณีที่ต้องการถ่ายตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าเราใช้แบบ auto focus อาจจะทำให้ตำแหน่งนั้นหลุดโฟกัสได้ หรือไว้ใช้ถ่ายแบบหน้าชัดหลังเบลอ
เลนส์ซูม
Zoom Lens ควรจะเลือกกล้องที่มีช่วงซูมกว้าง การซูมมี 2 แบบ คือแบบ optical zoom เป็นการขยายภาพโดยใช้กำลังของตัวเลนส์ แบบ digital zoom เป็นการขยายภาพโดยใช้ซอฟต์แวร์ขยายภาพจากภาพที่มีอยู่แล้ว ควรเลือกกล้องที่มีค่า optical zoom มากๆเพราะภาพที่ได้จะมีคุณภาพมากกว่าซูมแบบ digital zoom
รูปแบบไฟล์วีดีโอ
Video Formats ต้องดูด้วยว่าไฟล์วีดิโอที่ถ่ายมาได้เป็นนามสกุลอะไร โปรแกรมสามารถนำไปตัดต่อได้หรือไม่ ส่วนมากถ้าถ่ายเป็นแบบ Standard Definition จะมีนามสกุลเป็น MPEG2 ซึ่งโปรแกรมทั่วไปสามารถนำไปตัดต่อได้เลย ส่วนถ้าถ่ายเป็นแบบ High Definition อาจจะได้ไฟล์ที่มีนามสกุล MPEG2 หรือ AVCHD สำหรับกล้องรุ่นใหม่ ไฟล์ AVCHD จะมีขนาดเล็กกว่าไฟล์แบบ MPEG2 เพราะว่ามีการบีบอัดมากกว่า ดังนั้นจึงต้องใช้การประมวลผลที่สูงกว่าในการตัดต่อไฟล์นี้ ซึ่งโปรแกรมตัดต่อรุ่นใหม่รองรับไฟล์ AVCHD แล้ว
Accessory Shoe ควรจะมีช่องนี้ด้วย เอาไว้เสียบไมโครโฟนภายนอกหรือไฟติดหัวกล้อง ซึงจะเป็นการเพิ่มความสามารถให้กล้องวีดิโอ
ไมโครโฟน
Microphone กล้องวีดิโอทุกตัวจะมีไมโครโฟนที่ติดมากับตัวกล้องเลย และควรจะมีช่องไว้สำหรับต่อไมโครโฟนเพิ่มนอกเหนือไปจากไมโครโฟนที่ติดกับ Accessory shoe ซึ่งเราอาจจะใช้ไมโครโฟนแบบ Hand-held เอาไว้สัมภาษณ์ หรือเป็นแบบ Wireless microphone สำหรับพิธีการต่างๆ
พอร์ตคอมโพสิต
Outputs เมื่อเราถ่ายวีดิโอเสร็จแล้ว เราต้องการดูวีดิโอนั้น เราสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเอาลงเครื่องคอมแล้วตัดต่อเสร็จค่อยดู หรือการดูวีดิโอหลังจากถ่ายเสร็จเลย ซึ่งกล้องวีดิโอจะต้องมีช่องที่จำเป็นไว้สำหรับต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ไว้สำหรับดูวีดิโอจากกล้อง เช่น AV output เป็นการต่อสายเข้าทีวี อาจจะเป็นสาย composite (RCA) สำหรับวีดิโอทั่วไปหรือเป็นสายแบบ Component (สายแดง น้ำเงิน เขียว) สำหรับ HD video หรืออาจจะเป็น S-video ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าแบบ composite เล็กน้อย
แหล่งอ้างอิง:
smile pro video (2014). บทความเรื่อง วิธีเลือกซื้อกล้องวีดีโอเบื้องต้น
สืบค้นจาก http://www.xn--l3cdl7ac1a7b0al6ab0nxc.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น